สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล - What-Journal.com

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, September 10, 2024

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล


สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัท SIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยรองรับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดสากล (Universal Craft Market)


นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า สศท. มีพันธกิจหลักในการ สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน หนึ่งในภารกิจสำคัญคือการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความร่วมสมัย และตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งในปี 2567 สศท. ได้ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล (Universal Craft Market)


โดยนำหลักการด้านสร้างสรรค์ มาสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาการออกแบบรูปแบบให้งานศิลปหัตถกรรมไทยมีความหลากหลาย ทันยุคสมัย เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทย และเปลี่ยนความรู้ ออกแบบ ผลิต จำหน่าย รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตราฐานงานศิลปหัตถกรรมไทยที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดการค้าทั้งในและต่างประเทศ


สำหรับในกิจกรรมความร่วมมือด้านการออกแบบงานศิลปหัตถกรรม (Universal Craft Design Collaborations) เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และความต้องการของตลาด ตลอดจนกลยุทธ์ทางการค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อพัฒนารูปแบบงานศิลปหัตถกรรมไทยได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย


ในโครงการฯ สศท. ได้ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมแนะนำให้เกิดการนำภูมิปัญญามาใช้ในงานศิลปหัตถกรรมไทยได้อย่างร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ คุณนภัศภรณ์ ประดาศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารสินค้า ICONCRAFT และ คุณ ศิวัจน์ เลิศศศิศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ART & VISUAL MERCHANDISE บริษัท The Mall Group จำกัด มาร่วมเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 6 ราย ดังนี้

>.กลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม

1. คุณภรฎา ศรีอ่อนหล้า แบรนด์ pharata

2. คุณณิชาญา แซมลำเจียก บริษัท ปิยาสีลา จำกัด / ประธานกลุ่มเพชปุระ

3. คุณแสน ศรีสุโร แบรนด์ หอม-กลิ่น-ดิน

4. คุณณภัค ปทิตชัยเกษม แบรนด์ เพชรน้ำหนึ่ง

5. คุณพิริยะ พรหมแก้ว แบรนด์ กระจูดบายใจ

6. คุณกิตติพงษ์ ปงผาบ แบรนด์ คิท คราฟต์Kith Craft



ผลงานทั้ง 25 ผลงานจากกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมนี้ สศท. ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงสู่สากลต่อไป



นางสาวณิรชญา จังติยานนท์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม, สำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม กล่าวว่า การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมสู่สังคมและเพื่อให้เกิดมูลค่าได้อย่างยั่งยืน ปัจจัยสำคัญของการสร้างคุณค่านี้ผู้ผลิตฯ ต้องสื่อสารอย่างไร ให้เกิดการรับรู้ที่ชัดเจน Value Creation การสร้างมูลค่าที่เน้นตัวผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์เดิม หรือคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่โดยอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การคำนึงถึงต้นน้ำการผลิต และปลายทางของการสื่อสารผลิตภัณฑ์นั้นๆ


แน่นอนว่ารวมถึงการสร้างแบรนด์ สร้างตัวตน และการสื่อสารแบรนด์ ในกระบวนการการสร้างและรักษาอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่สอดคล้องกันตลอดการสื่อสารผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของคุณ รวมถึง Integrated Marketing. Communication: IMC) การสื่อสารทางการตลาดไปยังช่องทางต่างๆ ที่ต้องมีความสอดคล้องกันของข้อมูลที่สื่อสารออกไป จนสามารถสร้างความน่าเชื่อถือในประเด็นการสื่อสารเหล่านั้นกับลูกค้าได้ แทนที่จะใช้เพียงช่องทางเดียวในการสื่อสาร


นางสาวนภัศภรณ์ ประดาศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารสินค้า ICONCRAFT กล่าวว่า การสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ภาพลักษณ์ (Image) ให้กับสินค้าเพื่อให้เข้าไปในจิตใจ ทำอย่างไรถึงจะให้สินค้ามีจุดเด่น และเข้าไปอยู่ในใจผู้ซื้อ รวมถึงเกิด Integrity สร้างลัทธิ การรวมกลุ่มคนได้ หรือการสร้าง (Brand royalty) ในงานคราฟต์ คือ การทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำคือโจทย์ใหญ่ในการทำการตลาด และเพื่อให้สามารถต่อกรได้กับคู่แข่งทางการตลาดของแบรนด์


ดังนั้นการสร้าง Branding ให้แข็งแรงแข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญ แล้วหนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์ให้สตรอง นั่นก็คือ Brand Identity นั่นเอง ไม่ว่าแบรนด์เล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้สิ่งนี้ให้เป็นสิ่งสำคัญ อัตลักษณ์เหล่านี้จะถูกแสดงออกไปในรูปแบบของภาพจำของสินค้า เราก็อาจจะต้องสร้างจุดขายขึ้นมาเอง อย่างการสร้างจุดขายบนตัวสินค้า ปรับแต่งสูตร รูปแบบ หรือจะสร้างจุดขายจากบรรจุภัณฑ์ให้มีความแตกต่างก็ถือเป็นอีกหลวิธีหนึ่งที่ดีเป็นต้น


นายศิวัจน์ เลิศศศิศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ART & VISUAL MERCHANDISE บริษัท The Mall Group จำกัด กล่าวว่า “การค้าปลีกแบบไร้ขอบเขต” (Unbounded Retail) เป็นการวางอนาคตให้แก่ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทยในวันนี้ ควรมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างไรคะ และเรื่องของราคา หรือการเตรียมพร้อมควรมีหลักการหรือแผนการทำงานอย่างไร สำหรับผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม เพราะวันนี้มีการเกิดขึ้นของการค้าแบบไร้รอยต่อ ซึ่งมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในธุรกิจค้าปลีก ทำให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางความสนใจอย่างแท้จริง นับเป็นการก้าวสู่ยุคใหม่

โดยแนวคิดที่เคยแพร่หลาย เช่น “ Multichannel ” และ “ Omnichannel ” มีความสำคัญลดลง และการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ผนวกกับความยั่งยืนไม่ใช่เพียงเครื่องมือเสริมในการทำการตลาด แต่เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน – แบรนด์ต่าง ๆ จะต้องผสานความหลากหลาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแกนหลัก นำเสนอประสบการณ์ที่ยั่งยืนโดยไม่เก็บค่าบริการระดับพรีเมียมเพิ่ม นี่คืออนาคตของธุรกิจการค้าที่ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจและพร้อมจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานกำกับดูแลและนักลงทุนก็ขานรับเทรนด์รักษ์โลก แต่แรงกดดันจากผู้บริโภคเสียงดังและสำคัญที่สุด

ร่วมชื่นชมงานศิลปหัตถกรรมจากฝีมือคนไทย ที่นิทรรศการ Universal Craft Market ระหว่างวันที่ 10 – 15 กันยายน นี้ เวลา 10.00-22.00 น. ณ ICONCRAFT ชั้น 4 ไอคอนสยาม

#สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
#SIAMPIWAT
#TheMallGroup
#sacit
#universalcraftmarket

ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์
www.what-journal.com

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages